Skip to content

คนไทยเฮสนั่น! ปนสลด หลังนายกตู่เครื่องบินตก ก่อนถึงสกอตแลนด์

นายกประยุทธ์เดินทางถึงสกอตแลนด์ ร่วมประชุม COP26

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 12.00 ตามเวลาท้องถิ่นสกอตแลนด์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เข้าร่วมพิธีเปิดการประชุมระดับผู้นำ World Leaders Summit ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาตว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) (COP 26)

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีผู้นำจากหลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญและเข้าร่วมประชุมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างร่วมกัน นอกจากนี้การประชุม COP26 ยังได้รับความสนใจจากประชาชน และสื่อมวลชนทั่วโลก ได้ร่วมติดตามกันทำข่าวและรอสัมภาษณ์ผู้นำในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประชุม

นายกประยุทธ์ ชนศอกทักทาย นายกฯหลายประเทศ แบบเป็นกันเอง

ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้เวลาระหว่างรอพิธีเปิดการประชุมฯ พบปะพูดคุยกับผู้นำจากหลายประเทศในประเด็นที่น่าสนใจ รวมไปถึงพูดคุยเรื่องที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพเอเปกในปีหน้าด้วย ทั้งนี้ ยังได้ปรากฏภาพถ่ายการทักทายกับผู้นำประเทศต่าง ๆ อย่างเป็นกันเอง ด้วยวิธีทักทาย New Normal อาทิ พล.อ.ประยุทธ์ กับนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักร นายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา และด้วยการชนศอก รวมไปถึงการทักทายด้วยการชนกำปั้นกับนางแองเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีด้วย

การประชุม COP26 คืออะไร?

มาถึงประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามว่าการประชุม COP26 คืออะไร ซึ่งจริง ๆ แล้วคงต้องท้าวความก่อนเลยว่าโลกของเรากำลังมีความร้อนที่เกิดขึ้นจากก๊าซที่ถูกปล่อยออกมา ทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์สภาพอากาศแบบสุดขั้วต่าง ๆ อาทิ การเกิดคลื่นความร้อน, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว, ไฟป่าที่รุนแรนขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งอุณหภูมิโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมายังร้อนทุบสถิติจนน่าใจหายอีกด้วย

ด้วยวิกฤตที่ผ่านมาเลยทำให้ตั้งแต่ปี 2538 ผู้นำหลายประเทศทั่วโลก จึงจำเป็นต้องเดินทางมาพบปะกันเพื่อหารือและร่วมกันหาทางออกของปัญหา ภายใต้ชื่อที่รู้จักกันคือ การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา” (Conference of the Parties หรือ COP)

สำหรับการประชุม COP ครั้งที่ 26 จัดขึ้นที่เมืองกลาสโลก สกอตแลนด์ ในระหว่างวันที่ 1 – 12 พฤศจิกายน 2564 (ความจริงจัดปีที่แล้ว แต่เลื่อนออกไปเพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19) แต่ที่ทำให้คนจับตามองมากที่สุด คือการตกลงในครั้งนี้จัดขึ้นในปี 2564 ที่ถูกระบุเอาไว้ว่า ถ้าไม่ทำตอนนี้ก็พังแน่นอน เพราะการรายงานสภาพอากาศของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้เผยเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โลกกำลังร้อนเร็วขึ้น และมนุษย์แทบจะไม่เหลือเวลาป้องกันหายนะที่อาจเกิดขึ้นแล้ว (เป็นความจริงที่น่ากลัวมาก)

อุปสรรคเกิดขึ้นหลายอย่าง

แต่ทั้งนี้ด้านผู้เชี่ยวชาญก็ได้มีการหารือกันว่า ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งนั่นคือเรื่องงบประมาณและความเป็นธรรมทางสภาพอากาศ (climate justice) เนื่องจากชาติที่กำลังพัฒนามักจะมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อคนต่ำกว่าชาติที่พัฒนาแล้วเสมอ แต่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนากลับได้รับผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นแบบรุนแรงที่สุด

ดังนั้น ชาติกำลังพัฒนาจำเป็นจะต้องได้รับเงินทุนเพื่อช่วยเขาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนอปลงไป โดยก่อนหน้านี้ได้มีการพูดคุยตั้งแต่ปี 2552 ว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยจะมอบเงินให้ 1 แสนล้านดอลลาร์เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน แต่ ณ ขณะนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้เงินจำนวนดังกล่าวเลย

และในการประชุมในครั้งนี้ มีผู้นำกลุ่ม G20 รวมไปถึงอินเดีย ประเทศชาติตะวันตก และประเทศจีน ที่ปล่อยก๊าซรวมกันแล้วมากกว่า 80% ทั่วโลกเข้าร่วมด้วย โดยกลุ่มประเทศดังกล่าวให้คำมั่นว่าจะจำกัดอุณหภูมิโลกไม่เพิ่มอีก 1.5 องศาเซลเซียส (นับเป็นเป้าหมายสูงสุดเท่าที่เคยมีมา)

คราวนี้คงต้องมาจับตาดูกันว่าประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผู้ใช้ถ่านหินมากเป็นอันดับ 1 ของโลก รวมไปถึงประเทศผู้ผลิตฟอสซิลอื่น ๆ รวมไปถึงสหรัฐฯ และรัสเซีย จะมีแผนรับมือและยินยอมการลดการพึ่งพาพลังงานเหล่านี้มากน้อยขนาดไหน หากไม่ยินยอมอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็หายจะริบหรี่ได้เช่นกัน..อยากสนุกตื่นเต้นเร้าใจไปกับคาสิโนออนไลน์ คลิกที่นี่ เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์