Skip to content

วัคซีน Pfizer เข้าไทยแล้ว!เตรียมฉีดให้ประชาชนเร็วๆ นี้

ดราม่าหนักประเด็นวัคซีน Pfizer เข้าไทยแล้ว แล้วอยู่ที่ไหน?

วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นประเด็นที่มีคนให้ความสนใจรวมถึงการถกเถียงกันเป็นอย่างมาก จากความล่าช้าของวัคซีนที่ทางหน่วยงานภาครัฐสั่งเข้ามา หรือแม้แต่คุณภาพของวัคซีนที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจหลังจากที่มีการฉีดให้บุคคลากรทางการแพทย์และพบอาการไม่พึงประสงค์และแพ้วัคซีนที่รุนแรง

อีกหนึ่งประเด็นที่กำลังถกเถียงกันอย่างมากคือ ประเด็นการนำเข้าของวัคซีนคุณภาพสูงจากประเทศสหรัฐอเมราอย่าง Pfizer หลังจากที่นายทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้บัญชีผู้ใช้ที่ชื่อว่า Tony Woodsome ร่วมพูดคุยในช่อง CARE Clubhouse x CARE Talk คิดเคลื่อนไทย พลิกฟื้นวิกฤติโควิด เกี่ยวกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยและการล่าช้าของวัคซีน พร้อมได้มีการกล่าวถึงการเลือกใช้วัคซีนเพียง 2 ยี่ห้อของประเทศไทยว่า ประเทศไทยเราสั่งวัคซีนมา 2 ยี่ห้อ คือ แอสตร้าเซนเนก้า และ ซิโนแวค ส่วนตัวมีความสงสัยทำไมถึงเลือกวัคซีน 2 ยี่ห้อนี้เข้ามาใช้ในประเทศไทย ในเมื่อคนทั้งโลกรู้ว่าวัคซีนอันดับหนึ่งต้องเป็นไฟเซอร์ กับ โมเดอร์นา ถ้าจะใช้วัคซีนจากประเทศจีนต้องซิโนฟาร์มถึงจะได้คุณภาพที่ดีที่สุด และทักษิณยังได้กล่าวต่ออีกว่าสำหรับวัคซีน Pfizer ถ้าเข้าไปดูในเว็บไซต์จะเห็นว่าประเทศไทยมีเอาเข้ามาแล้วไม่รู้เท่าไหร่ แต่มีการนำเข้าในประเทศไทยแล้ว แต่ไม่มากและคงใช้กันไม่มีคน

ซึ่งจากการจัดพูดคุยดังกล่าวจึงได้กลายเป็นข้อสงสัยเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ในประเทศไทย ว่านำเข้ามาได้อย่างในเมื่อทางการของไทย อนุญาตแค่ 3 บริษัทที่นำเข้ามาได้เท่านั้นคือ แอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ในขณะที่ ไฟเซอร์ ประเทศไทย ได้ออกเอกสารแถลงการว่า ไม่มีการนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ในประเทศไทยแต่อย่างใด เพราะอยู่ระหว่างขั้นตอนของอนุญาตจากทางการไทย

ทางด้านกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ยืนยันว่า วัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ ยังไม่ได้มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทยและกลไกในการนำวัคซีนเข้ามาในประเทศไทยต้องเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้ 1.บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย จะต้องยื่นเป็นผู้ขอรับอนุญาตนำเข้าวัคซีน

2.ขออนุมัติยื่นขึ้นทะเบียนวัคซีนในประเทศไทย

3.เมื่อวัคซีนได้รับทะเบียนแล้วก็จะต้องให้ผู้ได้รับอนุญาต ทำเรื่องขออนุญาตกับ อย. เพื่อนำเข้าอีกครั้ง

ซึ่งในขณะนี้อย. ขึ้นทะเบียนวัคซีนแล้ว 3 ราย คือ

  1. วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
  2. วัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค นำเข้า โดยองค์การเภสัชกรรม
  3. วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน โดยบริษัท แจนเซ่น-ซีแลค จำกัด

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่อยู่ในระหว่างประเมินคำขอขึ้นทะเบียน 1 ราย คือ วัคซีนโมเดิร์นนา โดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด อีก 2 ราย อยู่ระหว่างทยอยยื่นเอกสารพร้อมประเมินคำขอขึ้นทะเบียนต่อเนื่อง ได้แก่ วัคซีนโควัคซีน โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด และวัคซีนสปุตนิกไฟท์ โดยบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด

และได้มีการกล่าวเพิ่มเติมว่าหากมีการนำเข้าวัคซีนแต่ไม่มีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีข้อสงสัยเรื่องวัคซีนที่มีการนำเข้า ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ของ อย. www.fda.moph.go.th จะได้รับข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นทางการ โดย อย. ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนโควิด-19 และได้เร่งรัดดำเนินการพิจารณาเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนโดยเร็ว

อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 7 พ.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการโพสต์ข้อความพร้อมรูประบุว่า ผู้บริหารไฟเซอร์ประเทศไทยได้เข้าพบ พร้อมประชุมแผนการจัดหาวัคซีนไฟเซอร์ มาให้ประชาชน ได้ข้อสรุปว่า ประเทศไทยจะได้รับวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 20ล้านโดส เริ่มส่งได้ตั้งแต่ ไตรมาสที่ 3 หรือ เดือนกรกฎาคมปีนี้ โดยทาง อย.จะอำนวยความสะดวกการขึ้นทะเบียนวัคซีนไฟเซอร์ ให้เร็วที่สุด สมัครบาคาร่า 888

อ่านเพิ่มเติม

Exit mobile version